วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

แกงส้มมะรุม ปลาช่อน


แกงส้มมะรุม ปลาช่อน

วิธีทำ

1. นำฝัก มะรุม แก่มาล้างให้สะอาด ปอกเปลือก และตัดเป็นท่อนๆ ขนาด 7-8 เซนติเมตร ไม่ควรใช้มะรุม แก่จัด เพราะเนื้อมะรุม จะแข็ง ไม่อร่อย

2. ปลาช่อนนาสับเป็นท่อนๆเตรียมไว้

3. โขลกพริกแห้ง เกลือ ตะไคร้ให้ละเอียด ใส่กระเทียม หอมแดง โขลกให้ละเอียดเข้ากัน

4. ต้มน้ำให้เดือด ใส่มะรุม เมื่อมะรุม เริ่มสุกนิ่ม จึงใส่ปลาช่อน มะรุม  สุกยาก จะต้องต้มให้เปื่อยก่อนใส่เนื้อปลา ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก น้ำปลาร้า หากไม่ชอบจะไม่ใส่ก็ได้ น้ำปลา น้ำตาลทรายเล็กน้อย ชิมให้ได้รสชาติตามชอบ รอจนปลาสุกและมะรุม สุกนิ่ม ใส่ยอดแมงลัก ยกลงตักใส่ชาม

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มะรุมกับมะเร็ง


ในทางการแพทย์แล้ว ยังไม่มีงานวิจัยหรือหน่วยงานด้านการแพทย์ใด ออกมาระบุแน่ชัดว่า มะรุม สามารถป้องกันหรือรักษาโรคมะเร็งในคนได้ ทั้งนี้เพราะเท่าที่มีการทดลองเกี่ยวกับฤทธิ์ของสารต้านมะเร็งในมะรุมเป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการ โดยใช้ หมูทดลอง เท่านั้น ยังไม่เคยมีการทดลองในมนุษย์แต่อย่างใด



อย่างไรก็ตาม มีคุณสมบัติของมะรุมหลายประการที่ชี้ให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องระหว่าง มะรุม กับ มะเร็ง ในแง่ของการเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต่อต้านหรือยับยั้ง ภาวะบางอย่างที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง อาทิ มีการทดลองในหนูถีบจักร พบว่าผงเมล็ดมะรุมสามารถป้องกันภาวะ Oxidative Stress ในหนูที่ได้รับสาร Arsenic และลดการดูดซึมของสาร Arsenic ในเนื้อเยื่อได้ สาร Arsenic  เป็นสารหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้สา่วนภาวะ Oxidative Stress เป้นภาวะที่เซล์ถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ อันเป็นสาเหตุของโรคแห่งความเสื่อมเรื้อรังมากกว่า 70 ชนิด และเป็นภาวะซึ่งเป็นพื้นฐานของการเกิดโรคหลายชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ มะเร็ง 


นอกจากนี้ มะรุมยังมีผลทำให้ ลดระดับ Glutathione GSH ในหนูทดลองได้ Glutathione GSH เป็นสารที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมสารอนุมูลอิสระในร่างกาย การสร้างสารซ่อมแซม เซลล์ และ ทำปฏิกิริยาขจัดสารพิษที่เกิดในร่างกาย ทั้งนี้ เนื่องจากมีผู้รู้หลายท่านมีความกังวลว่าหากมีสาร Glutathione ในร่างกายมากเกินไปจะทำให้มะเร็ง ลุกลามได้เร็วว่าปกติ เพราะเลือดสามารถไปเลี้ยงมะเร็งได้มากขึ้น และ กระบานการทำลายมะเร็งจะลดประสิทธิภาพลง ดังนั้น จึงทำให้มีการอนุมานว่า หากมะรุมช่วยให้ระดับ Glutahione ลดลงได้ ก็เท่ากับช่วยป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง

แม้คุณสมบัติด้านการต่อต้านมะเร็งของมะรุมจะยังคงไม่ชัดเจนนัก แต่ก็มีงานเขียนหลายแหล่งที่ระบุว่า การรับประทานมะรุมสม่ำเสมอจำช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง หรือหากใช้มะรุมควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบันในผู้ป่วยมะเร็ง ก็จะช่วยในการรักษาพยาบาลง่ายขึ้น หรือในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่าหากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง

จากคุณสมบัติของมะรุมที่ระบุข้างต้น จึงทำให้มีการอนุมานว่า กินมะรุม ทำให้ไม่เป็นมะเร็ง หรือ กินมะรุมช่วยรักษามะเร็งได้

แม้การรับประทานมะรุม จะไม่ใช่ทางออกสำหรับการป้องกันมะเร็งได้อย่างสมบูรณ์แบบ เนื่องจากภาวะที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งมีอยู่มากมาย อย่างไรก็ตาม การที่มะรุมสามารถยับยั้งและป้องกันภาวะความเสี่ยงบางประการที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ก็นับว่าทำให้รับประทานมะรุมได้อย่างอุ่นใจมากโขแล้ว

อย่างน้อยๆ สำหรับคนทั่วไป ที่ไม่อยู่่ในข่าย ห้ามรับประทานมะรุมอย่างสบายใจได้ เพราะรู้แน่ว่ามะรุมที่รับประทานเข้าไปนั้น จะก่อให้เกิด คุณ มากกว่าโทษ อย่างแน่นอน

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มะัรุม


มะรุม เป็นพืชที่ได้รับคามนิยมละมีการรับประทานกันทั่วโลก เฉพราะในบ้านเรานั้น มะรุมเป็นผักพื้นบ้านที่คนไยรู้จักและรับประทานกันมาช้านานในทั่วทุกภาค อีกทั้งมะรุมยังเป็นสมุนไพรพื้นบ้านตามตำรับยาแผนโบราณที่ใช้รักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ได้ดี จนกระทั้งความนิยมรับประทานมะรุมยิ่งเพิ่มมากขึ้น เมื่อทางฟากฝั่งของการแพทย์สมัยใหม่ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารอาหารที่มีในมะรุม โดยใน รายงานการวิจัยจากหลายหน่วยงานได้ข้อสรุปว่ามะรุมเป็นพืชที่อุดมไปด้วย คุณค่าทางอาหาร และสารหลายชนิดที่มีในส่วนต่างๆ ของมะรุม ยังมี สรรพคุณในการเยียวยารักษาโรคได้อย่างหลากหลายอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แกงจืดเต้าหู้เห็ดหอม


วิธีทำ 
  1. นำหมูสับมาผสมกับน้ำมันหอย ซีอิ๊วขาว หรือน้ำปลา น้ำตาลทรายและพริกไทยป่น คลุให้เข้ากัน
  2. นำเห็ดหอมแห้งมาล้างให้สะอาดและแช่น้ำให้นิ่ม หากเป็นเห็ดหอมสดล้างให้สะอาดเตรียมไว้ แครอทล้างหั่นเป็นท่อนๆ ผักกาดขาวล้างให้สะอาดหั่นเป็นท่อนๆ
  3. นำเต้าหู้หลอดมาหั่นเป็นแว่นๆ หนาประมาณ 1.5 ซม.
  4. ใส่น้ำสะอาดลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟกลางค่อนข้างแรง ใส่ซุปผง หรือซุปก้อน พอน้ำเดือดใส่เห็ดหอม เต้าหู้ ผักกาดขาว แครอท รอจนน้ำเืดือดอีกครั้งจึงนำหมูสับที่ปรุงไว้ใส่ลงในหม้อ ตักให้เป็นก้อนๆ หรือตีให้กระจายก็ได้ตามแต่ชอบ
  5. ปรุงรสให้กลมกล่อมด้วยซีอิ๊วขาวและน้ำตาลทราย ใส่ต้นหอม ผักชี หั่นเป็นท่อนๆ เมื่อเดือดอีกครั้งจึงยกลงตกใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยพริกไทยป่น

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เห็ดหอมกับ โรคมะเร็ง


เห็ดหอมกับ โรคมะเร็ง
เห็ดหอม หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ เห็ดชิตาเกะ Shitake เป็นเห็ดที่มีสารต้าน มะเร็ง ในปริมาณสูง จากรายงานของญี่ปุ่นระบุว่าเห็ดหอมช่วยชะลอการเติมโตของ มะเร็ง ได้ ในลักษณะเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
ในเห็ดหอมมีองค์ประกอบของพฤกษเคมีที่ชื่อว่า โพลีแซคคาไรด์  Polysaccharide ซึ่งจะทำงานร่วมกันกับเซลล์คุ้มกันขนาดใหญ่ที่ชื่อ แมคโครฟาจ Macrophage ในการช่วยกระตุ้นวงจรการทำงานของ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เสริมและช่วยเพิ่มปริมาณและประสิทธิภาพของเซลล์คุ้มกันธรรมชาติ ให้ทำหน้าที่ทำลายเซลล์แปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมถึงพวกไวรัสและแบคทีเรียอื่นๆด้วย

มีการวิจัยสารที่สกัดจากเห็ดหอม พบว่ามีสาร เลนติเนน Lentinan และ LEM Lentinulaedodes Mycelium ที่สามารถกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทานได้ดี สามารถต่อต้าน เนื้องอก และ มะเร็งได้ โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งได้ถึง 80.7% เนื่องจากสารที่ว่านี้ จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับการติดเชื้อ และชะอการแพร่กระจายของ เซลล์มะเร็ง โดยในการทดสอบให้สารเลนติเนนกับ ผู้ป่วยมะเร็ง ร่วมกับทำเคมีบำบัด พบว่า ก้อนมะเร็ง นั้นมีขนาดเล็กลง และอาการข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัดก็เกิดขึ้นน้อยยลงด้วย

นอกจากนี้ ยังมีผลงานวิจัยบ่งชี้ว่า การให้เลนติเนนก่อนที่จะรับการรักษาด้วยกัมมันตรังสี จะช่วยป้องกันมิให้เม็ดเลือดขาวลดลง จนกระทั้งในช่วงทศวรรษที่ 1980 สภาเภสัชกรรมของญี่ปุ่นจึงได้ยอมรับให้เลนติเนนเป็นยาสำรับต้านโรคมะเร็ง

คุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์อื่นๆ
เห็นโดยทั่วไปแล้วไม่มีไขมัน มีปริมาณน้ำตาลและเกลือค่อนข้างต่ำ ทั้งยังเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีเมื่อเทียบกับผักอีกหลายชนิด นอกจานี้เห็ดยังอุดมไปด้วยวิตามิน โดยเฉพราะวิตามินบีรวม ไรโบฟลาวิน และไนอาชิน ซึ่งจะช่วยควบคุมการทำงานของระบบย่อยอาหาร

สำหรับเห็ดหอมนั้น เป็นยาพื้นบ้านที่ได้ชื่อว่าเป็น ยาอยุวัฒนะ ที่ใช้รักษาโรคกันมานาน ในเห็ดหอมมีวิตามิน บี1 บี 2 สูง และมี กรดอมิโน ถึง 21 ชนิด โดยงานวจัยหลายชิ้นในญี่ปุ่นพบว่า กรดอะมิโน
ที่ชื่อ อิริตาดีนีน Eritadenine ที่มีในเห็ดหอม ช่วยให้ไตย่อย คอเลสเตอรอลได้ดียิ่งขึ้น จึงทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลงได้ หากรับประทานเห็ดหอมสด 90 กรัม ทุกวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จะทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดลดลง 12% และถ้ารับประทานเห็ดหอมแห้ง 9 กรัมต่อวันคอเลสเตอรอล จะลดลง 7% 

นอกจากนี้ยังพบว่าเห็ดหอมช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบรวมทั้งโรคร้ายต่างๆ ที่เกิดจากเชื้อไวรัส และในเห็ดหอมยังมีสาร เออร์โกสเตอรอล Ergosterol ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับแสง อัลตราไวโอเลต UV จากดวงอาทิตย์ จะเปลี่ยนสารนี้ใ้เป็นวิตามินดี ซึ่งทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพราะอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทา อาการไข้หวัด บำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ รักษาอาการอัลไซเมอร์ 

คำแนะนำและข้อควรระวังในการรับประทานเห็ดหอม
เห็ดหอมตากแห้งจะให้คุณค่าทางอาหารมากกว่าเห็ดหอมสด
ห้ามรับประทานเห็ดหอม ในสตรีหลังคลอด ผู้ป่วยหลังฟื้นไข้ และคนที่เพิ่งหายจากการออกหัด

เมนูอาหารแนะนำ แกงจืดเต้าหู้เห็ดหอม

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ผัดบร๊อกโคลีกุ้งสด

ผัดบร๊อกโคลีกุ้งสด



วิธีทำ

  1. นำยอดอ่อนๆ ของ บร๊อกโคลี มาล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นพอคำลวกพอสุก และนำขึ้นแช่น้ำเย็น พักในตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ
  2. นำกุ้งชีแฮ มาล้างให้สะอาด แกะเปลือกกุ้งออกจนึงข้อสุดท้ายไว้หาง ผ่าหลัง ดึงเส้นดำออก
  3. นำน้ำมันพืชใส่กระทะตั้งไฟพอร้อน ใส่กระเทียมสับลงผัดให้หอม ใส่กุ้งลงผัดจนสุก เติมน้ำซุป หรือน้ำเปล่า พอขลุกขลิก ใส่ บร๊อกโคลี ที่ลวกไว้ เติมน้ำตาลทราย ซีอิ๊วขาว ผัดให้เข้ากัน เพื่อให้ บร๊อกโคลี กรอบอร่อย จึงไม่ควรผัดนาน ชิมรสชาติตามชอบ ยกลงตักใส่จานเสริร์ฟ สำหรับผู้ชอบรสจัด จะใส่พริกสดบุบเล็กน้อยลงไปัผัดด้วยก็ได้ แต่ไม่ควรใส่มากเนื่องจากเป็นอาหารเพื่อสุขภาพึจึงควรให้มีรสเผ็ดอ่อนๆ จะดีกว่า

ข้าวโพดกับ โรคมะเร็ง


ข้าวโพดกับ โรคมะเร็ง
โดยส่วนใหญ่แล้ว พืชผักแทบทุกชนิดซึ่งเก็บมาสดๆ ใหม่ๆ จะให้คุณค่าทางอาหารสูง หากนำไปผ่านความร้อนจะทำให้สูญเสียคุณค่าทางอาหารไปอย่างน่าเสียดาย แต่ ข้าวโพด กลับตรงข้าม

ทั้งนี้ เนื่องจากงานของนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ได้ระบุชัดเจนว่า การกิน ข้าวโพดต้ม สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นหัวใจและมะเร็งได้ โดยนักวิจัยพบว่าการ ต้ม หรือ ปิ้ง ทำให้ ข้าวโพด ปล่อยสารต้านอนุมูลอิสระ Anti Oxidant ออกมาหลายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าวโพด ต้มมีสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงมาก นั่นคือ กรดเฟอรูลิก Ferulic Acid

ข้าวกล้องงอกกับ โรคมะเร็ง


ข้าวกล้องงอกกับ โรคมะเร็ง
ข้าวกล้องงอกมีส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ เพอร์ริคาบ คือเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว ซึ่งส่วนนี้เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ Anti Oxidant ในปริมาณสูงมาก อนุมูลอิสระ ตัวการทำให้เกิด โรคมะเร็ง อีกทั้งข้าวกล้องงอกยังมีกากและใยอาหารมาก ซึ่งกากอาหารนี้ช่วยป้องกันโรคท้องผูกและ มะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้ นอกจานี้ แคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสซึ่งมีในข้าวกล้องงอกยังสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มต้นได้เช่นกัน

หนึ่งในสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญซึ่งมีในข้าวกล้องงอกก็คือ ฟีโนลิค Phenolic Compounds ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี พบได้ใน พืช ผัก และผลไ้ม้ทั่วไป โดยมีรายงานถึงฤทธิ์ชีวภาพของ 
Phenolic Compounds อย่างมากมาย เช่น ยับยั้งการเกิดฝ้า รวมทั้งฤทธิ์ในการต้านมะเร็งด้วย

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ถั่วแดงกับ โรคมะเร็ง


ถั่วแดงกับ โรคมะเร็ง
ถั่วแดง และพืชตระกูลถั่วมีสารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แมกนีเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามิน วิตามินบี 1 บี 2 และเส้นใยอาหาร ถั่วแดงเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของเส้นใยอาหารสูงมาก โดยเส้นใยอาหารที่มีในถั่วแดง รวมทั้งพืชตระกูลถั่วอื่นๆ มีทั้งเส้นใยชนิดที่ละลายในน้ำและไม่ละลายในน้ำ โดยใยอาหารที่ละลายในน้ำ จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองปริแตก โดยใยอาหารชนิดนี้เมื่อละลายน้ำจะมีลักษณะเป็นเจล สามารถจับน้ำตาลดูดซับน้ำมันได้ เมื่อใยอาหารจับตัวกับน้ำ ซึ่งมีคอเลสเตอร์รอลเป็นส่วนประกอบ จึงเท่ากับช่วยขับคอเลสเตอร์รอลออกมาจากร่างกายพร้อมกับการขับถ่ายนั้นเอง


ส่วนใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายในน้ำจะช่วยเพิ่มกากใยและจะพองตัวในน้ำเหมือนฟองน้ำ เท่ากับเข้าไปเพิ่มปริมาตรน้ำในกระเพราะอาหารจึงช่วยให้รู้สึกอิ่ม ทั้งยังช่วยเพิ่มมวลอุจจาระ ทำให้อุจาระนิ่ม ขับถ่ายสะดวก จึงเท่ากับช่วยทำความสะอาดทางเดิมอาหาร ลดปัญหาท้องผูก และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็น โรคมมะเร็งลำไส้ใหญ่ และริดสีดวงทวาร อีกทั้ง ถั่วแดงยังช่วยเพิ่มระดับวิตามินอีในกระแสเลือด ซึ่งเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ หากรับประทานเป็นประจำจะช่วยลดการเกิด มะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้อีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้ ถั่วแดงอุดมด้วยกรดโฟลิก ที่ช่วยบำรุงโลหิต ป้องกันความผิดปกติของทารกในครรภ์ ที่สำคัญคือมี สารแอนติ ออกซิแดนต์ 
Anti Oxidant อย่าง Phenolic Compounds ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้ดีอีกด้วย จะให้ดีควรรับประทานให้ได้วันละ 1 ถ้วย ขึ้นอยู่กับอายุและเพศด้วย

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เห็ดหอม ชิตาเกะ


มีสิ่งมีชีวิต อย่างหนึ่งที่ เกิดจากดิน ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ และมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานก็แห้งเหี่ยว แต่เพียงระยะเวลาสั้นๆ ของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้เอง ที่มันได้สร้างคุณประโยชน์มากมายแก่มวลมนุษย์อย่างที่เราเองอาจคาดไม่ถึง เพราะมันเป็นทั้ง สุดยอดอาหาร และเป็น ยารักษาโรค ชั้นดีมีสรรพคุณทางยา ราวกับหมอเทวดาเลยทีเดียว สิ่งมีชีวิตที่ว่านี้ก็คือ เห็ดหอม ชิตาเกะ นั่นเอง

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ธัญพืช 3 ชนิด

ธัญพืช 3 ชนิด
ได้แก่ ข้าวกล้องงอก ถัวแดง และ ข้าวโพด ซึ่งธัญพืชทั้ง 3 ชนิดนี้นอกจากจะอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารแล้วแล้ว ยังมี อาวุธ ที่ทรงประสิทธิภาพซึ่งช่วยต้านทาน โรคมะเร็ง ได้อย่างดี ได้แก่ 
ข้าวกล้องงอก ถัวแดง และข้าวโพด

ข้าวกล้องงอก Germinated Brown Ricข้าวกล้องงอก เป็นข้าวกล้องที่นำมาผ่านกระบวนการแช่น้ำทำให้งอกเป็นต้นอ่อนขึ้น จึงมีชื่อเรียกว่า ข้าวกล้องงอก เป็นที่ทราบกันดีว่า ข้าวกล้อง เป็นข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารและมีคุณประโยชนมากกว่า ข้าวขัดขาว มากมายนัก แต่เมื่อนำ ข้าวกล้อง มาเปรียบกับ ข้าวกล้องงอก แล้ว นักค้นคว้าวิจัยทั้งในบ้านเรา และ ต่างชาติต่างเทคะแนนให้ ข้าวกล้องงอก ว่ามีคุณค่าสารอาหารสูงกว่า ข้าวกล้องธรรมดาอย่างเทียบกันไม่ได้ทีเดียว

ถั่วแดง
พืชตระกูลถั่ว เป็นพืชที่เรารู้จักคุ้นเคยกันดีทั้งในเรื่องรสชาติความอร่อยที่แตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด รวมถึงการยอมรับในด้านคุณค่าที่ได้จาถั่วเมล็ดเล็กๆ เหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งจดว่าเป็นถั่วที่มีโปรตีนสูงกว่าผลิตภัณฑ์ถั่วในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งในที่นี้จะขอยก มากล่าวถึงเฉพาะ 
ถัวแดง เท่านั้น หากไม่สะดวกในการใช้ ถัวแดงเป็นวัตถุดิบในอาหาร สามารถนำถั่วชนิดอื่นๆ มาดัดแปลงใช้ได้ตามความชอบ

ข้าวโพด
ข้าวโพด เป็นพืชดั้งเดิมของชาวอินเดียนแดง ซึ่งปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลกและมีการพัฒนาสายพันธุ์ ข้าวโพด ให้มีความหวานมากขึ้นเฉพาะ ข้าวโพดหวาน มากกว่า 200 สายพันธุ์ ส่วนใหญ่จะมีเมล็ดเหลืองทองน่ารับปราน และแน่นอน คุณประโยชน์ที่ได้จากพืชชนิดนี้ ไม่ได้น้อยหน้าไปกว่ารูปลักษณ์ที่เหลืองอร่ามน่ารับประทานของมันเลย

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กรดเฟอรูลิก Ferulic Acid


กรดเฟอรูลิก Ferulic Acid 
เป็นกรดอินทรีย์ เป็นสารสำคัญที่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังถูกใช้สำหรับต่อต้านการแก่ Aging ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง โรคหัวใจ ไข้หวัด รักษาสุขภาพของกล้ามเนื้อ ต่อต้านผลกระทบจากรังสีอัลตราไวโอเลต จึงช่วยป้องกัน มะเร็งผิวหนัง ได้

เมื่อร่างกายเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน Oxidation อันเกิดจากมีการใช้ออกซิเจนในร่างกายมาก เมื่อนั้นภายในร่างกายก็จะเกิดอนุมูลอิสระขึ้น ยิ่งหากในร่างกายเกิดปฏิกริริยาออกซิเดชันขึ้นอยู่บ่อยๆ หรือตลอดเวลา อนุมูลอิสระนั้นก็จะเกาะอยู่ตามเนื้อเยื่อและเซลล์ในร่งกายเพิ่มมากขึ้น จนเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น เปรียบได้กับตัวถังเหล็กที่เกิดสนิม หากปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดสนิมยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ที่สุดแล้วสนิมนั้นก็จะทำลายตัวถังให้ผุกร่อนเสียหายในที่สุด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า กระบวนการนี้คือ กระบวนการแก่ Aging Process ของคนนั่นเอง

ความสำคัญของ กรดเฟอรูลิก คือ เมื่อใดที่ร่างกายของเราเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน จนก่อให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้น กรดเฟอรูลิก ในร่างกายก็จะเข้าไปกำจัดอนุมูลอิสระเหล่านั้นทันที

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บร๊อกโคลี กับ โรคมะเร็ง


บร๊อกโคลี เป็นผักที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่ามีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากเป็นอันดับต้นๆ
ถึงแม้จะมีราคาแพงและหารับประทานได้ค่อนข้างยาก แต่เมื่อเทียบกับคุณค่าของมันแล้ว ก็นับว่าคุ้มค่า คุ้มราคา และ เป็นผักที่คนรักสุขภาพควรต้องมีไว้ประจำครัวกันทีเดียว

บร๊อกโคลี อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินซี ใยอาการและสารอาหารอื่น อีกมากมายกว่า 10 ชนิด ทั้งยังป้องกันโรค ได้มากมาย อาทิ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคที่เกี่ยวกับสายตาต่างๆ โรคความผิดปกติของเด็กแรกเกิด เป็นต้น

บร๊อกโคลี กับ โรคมะเร็ง

คุณสมบัติในการต้าน มะเร็ง ของ บร๊อกโคลี มีดังนี้


มะเร็งเต้านม Breast Cancer. บร๊อกโคลี มีสารอาหารเข้มข้นอย่าง ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) ที่สามารถป้องกัน อนุมูลอิสระ ที่เข้าไปทำลายเซลล์ และ ทำลาย DNA ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิด มะเร็ง ได้ ทั้งยังช่วยกระตุ้นเซลล์ในร่างกายของมนุษย์ หรือ สัตว์ ให้สร้างเอนไซม์ต่อต้าน มะเร็ง ลดระดับการเผาผลาญฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นตัวผลักดันให้เนื้องอกที่เต้านมเจริญเติบโตขึ้น ทั้งยังพบว่าความเสี่ยงในการพัฒนาเชื่้อ มะเร็งเต้านม ในหนูทดลอง ลดลงถึง 60% เป็นเพียงการทดลองในห้องปฏิบัติการ ยังไม่ได้มีการทดลองในคนไข้ โรคมะเร็ง โดยตรง

มะเร็งลำไส้  Colon Cancer. ใน บร๊อกโคลี มีสารเคมีประเภท Organosulfur ชื่อ Lsothiocyanate ซึ่งสารนี้มีฤทธิ์ยับยั้งการแพร่ของ มะเร็งลำไส้ ใหญ่ ในหนูได้ และสามารถขับสารพิษจากเอนไซม์ ซึ่งป้องกันการเกิดของเซลล์ มะเร็งลำไส้ ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยังไม่ได้ทำการทดลองในคนโดยตรง จึงอาจสรุปได้เพียงว่า บร๊อกโคลี มีสารเคมีบางอย่างที่สามารถต่อสู้ มะเร็ง ในหนูทดลองได้

มะเร็งต่อมลูกหมาก Prostate Cancer. สารอาหาร คือ Diindolylmethane หรือ DNA ใน บร๊อกโคลี มีฤทธิ์ช่วยต้านฮอร์โมนแอนโดรเจน ให้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ มะเร็งต่อมลูกหมาก ฮอร์โมนแอนโดรเจนในเพศชาย เป็นฮอร์โมนซึ่งคล้ายกับเทศโทสเตอโรน ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเซลล์ มะเร็งต่อมลูกหมาก ในระยะแรกเริ่ม ดังนั้น การรับประทาน บร๊อกโคลี จึงสามารถยับยั้งการเกิด มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้

มะเร็งกระเพาะอาหาร Gastric Cancer. สาร Sulforaphane ใน บร๊อกโคลี สามารถป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่ชื่อ Helicobacteri Pylori เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารจนอาจนำไปสู่การเป็น มะเร็งกระเพาะอาหาร ได้ ดังนั้น การที่ บร๊อกโคลี ช่วยป้องกันการติดเชื้อชนิดนี้ได้ จึงเท่ากับช่วยป้องกันการเกิด มะเร็งกระเพาะอาหาร ได้ทางอ้อม


มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ Bladder Cancer. นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันรอสเวลพาร์คแคนเซอร์ สหรัฐอเมริกา แนะนำว่า การรับประทาน บร๊อกโคลี หรือ กระหล่ำปลี สด อย่างน้อยเดือนละ 3 ครั้ง จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ลงได้ 40% 


มะเร็งผิวหนัง Skin Cancer. มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกินส์ ได้ทำการทดลองโดยให้สัตว์ทดลองได้รับแสง UV จากการอาบแดดเป็นเวลา 20 สัปดาห์ติดต่อกัน และหลังจากนั้นก็รักษาด้วยการทาสารสกัดจาก บร๊อกโคลี  ที่ผิวหนังเป็นเวลา 11 สัปดาห์ พบว่า บร๊อกโคลี สกัดทำให้เซลล์ผิวหนังที่กำลังจะตอบสนองต่อการเกิด มะเร็ง มีปริมาณลดลง จึงสรุปว่า สาร Sulforaphane มี ฤทธิ์ช่วยขับสารพิษของเซลล์ มะเร็งผิวหนัง ได้

คำแนะนำและข้อควรระวังในการรับประทาน บร๊อกโคลี
บร๊อกโคลี รวมทั้งกะหล่ำปลี ที่ผ่านความร้อน จะทำให้สารไอโซธิโอไซยาเนตส์ ลดจำนวนลงถึง 60-90% เลยทีเดียว จึงทำให้การลดความเสี่ยงในการเป็น มะเร็งกระเพาะอาหาร ไม่ได้ผลดีเท่ากับรับประทานสดๆ แต่การรับประทานแบบสดๆ จะต้องมั่นใจว่า บร๊อกโคลี ที่ซื้อมานั้นปลอดจากสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกายด้วย

หากหาบร๊อกโคลีมาปรุงอาหารไม่ได้ สามารถใช้ผักในตระกูลเดียวกันมาประกอบอาหารรับประทานทดแทนกันได้ แต่คุณประโยชน์ที่ได้รับก็ย่อมมากน้อยแตกต่างกันไปตามชนิดของผักเช่นกัน โดยผักใน ตระกูลกะหล่ำ ที่เรารู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เช่น กระหล่ำปลี รวมถึงกะหล่ำปลีแดง กะหล่ำดาว Brussel Sprout ผักกาดขาว คะน้า ผักกาดเขียว กวางตุ้ง หัวไช้เท้า กะหล่ำดอก ผักกาดเขียวปลี เป็นต้น